--Advertisement--





วิธีดูสภาพพื้นผิวก่อนการปูกระเบื้องเพื่อความมั่นคง


หลักเกณฑ์ในการตรวจสภาพพื้นผิวก่อนการปูกระเบื้อง

ตรวจสอบโดยใช้ไม้ที่ได้ระดับยาว 2 ม. วางลงบนพื้นผิว ไม้วัดระดับต้องแนบพื้นผิว มีช่องว่างได้ตามรายละเอียดข้างล่าง

บริเวณที่อยู่ใต้ไม้วัดระดับต้องมีช่องว่างไม่เกิน 5 มม.
บริเวณที่ใช้งานหนัก หรือบริเวณที่ใช้กาวเหลวปูกระเบื้องไม่ควรเกิน 3 มม.

ถ้าความเรียบของพื้นผิวเป็นไปตามมาตรฐานข้างต้นเกิน 80% ถือว่าอยู่ในสภาพปกติ
แต่ถ้าพื้นผิวไม่เรียบมากกว่า 20% ควรปรับระดับด้วยปูนทรายที่ผสมน้ำยาประสานคอนกรีต เวเบอร์.นีโอ ลาเท็กซ์ เพื่อให้ปูนใหม่กับปูนเก่าติดกันได้ดี

ความมั่นคงของพื้นผิว

วิธีวัดความมั่นคง ความแน่นของพื้นผิว ทำอย่างไร?
ตรวจสอบบริเวณแผ่นไม้ ตามขอบของแผ่นไม้
สำหรับพื้นผิวไม้ เมื่อเราเดินลงไปหรือสัมผัส พื้นไม้ไม่ควรยุบตัว สั่นสะเทือน หรือแปรสภาพ
ถ้าพื้นผิวไม่แข็งแรงพอ ควรจะทำใหม่หรือซ่อมแซม เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับพื้นผิว

ตรวจสภาพพื้นผิวก่อนการปูกระเบื้อง weberthai.com

ความแข็งแรงของพื้นผิว

พื้นผิวจะต้องแข็งแรงและมีความต้านทาน เพื่อลดปัญหาการหลุดร่อนจากพื้นผิว
วิธีวัดตรวจสอบความแข็งของพื้นผิว ทำอย่างไร?

วิธีง่ายๆ ที่ใช้ตรวจความแข็งแรงของพื้นผิว คือ การใช้ตะปูขูดพื้นผิวหลายๆ จุด
ถ้าพื้นผิวหลุดร่อนร่วนซุย ถือว่าพื้นผิวนั้นไม่แข็งแรงเพียงพอสำหรับการปูกระเบื้อง

กรณีพื้นผิวเก่าที่เป็นปูนปลาสเตอร์ เช่น กำแพงที่ทำด้วยปูนขาว ให้สกัดพื้นผิว จนได้พื้นผิวที่แข็ง

ถ้าพื้นผิวชำรุด แตกร้าว แข็งไม่เพียงพอ ให้สกัด หรือกะเทาะบริเวณที่ชำรุดออก ให้หมดจนเหลือแต่บริเวณที่แข็งแรงไว้

การดูดซึมน้ำของพื้นผิว

พื้นซีเมนต์ต้องดูดซึมน้ำปกติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากาวซีเมนต์แห้งเร็วเกินไป
วิธีวัดตรวจสอบประสิทธิภาพการดูดซึมน้ำของพื้นผิว ทำอย่างไร?

ตรวจสอบโดยการใช้น้ำราดลงพื้นผิวในปริมาณเล็กน้อย

ถ้าพื้นผิวดูดซึมน้ำได้หมดภายในระยะเวลาน้อยกว่า 1 นาที ถือว่าเป็นพื้นผิวที่ดูดน้ำเร็วเกินไป พื้นผิวลักษณะนี้ ต้องทาด้วย น้ำยารองพื้นเพื่อลดการดูดซึมของน้ำ ก่อน

การยึดติดของกระเบื้องเดิมและสีเก่า
พื้นผิวต้องเป็นพื้นผิวเดียวกัน มีแรงต้านทานการยึดเกาะของกาวซีเมนต์
วิธีตรวจสอบการยึดติดของกระเบื้องเดิมก่อนการปูกระเบื้องทับ ทำอย่างไร?

สำหรับพื้นกระเบื้องเดิม ใช้ค้อนหรือเกรียงเคาะให้ทั่วบริเวณ เพื่อตรวจสอบการยึดติดของกระเบื้องเดิม

รื้อแผ่นกระเบื้องเดิมที่ไม่แน่นออก

ปูกระเบื้องบริเวณนั้นใหม่ โดยเลือกใช้กระเบื้องชนิดเดียวกันและคุณสมบัติเหมือนกันกับกระเบื้องเดิม
วิธีตรวจสอบการยึดติดของสีเก่าก่อนการปูกระเบื้องทับ ทำอย่างไร?

สำหรับการตรวจสอบพื้นผิวที่มีสีเก่า ใช้มีดคัตเตอร์กรีดเป็นเส้นในแนวตั้งและแนวนอน ยาว 10 ซม. มีความห่างต่อเส้นประมาณ 2 มม.

กรีดให้ได้เป็นสี่เหลี่ยมเล็กขนาด 2 x 2 มม. ในพื้นที่ 10 x 10 ซม. จากนั้นใช้เทปกาวใสติดแนบลงไป แล้วดึงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ถ้า 80% ของสี่เหลี่ยมเล็ก (ขนาด 2 x 2 มม.) ยังยึดติดดี แสดงว่า สีเก่ายังให้การยึดติดที่ดี
ถ้าน้อยกว่า 80% ของสี่เหลี่ยมเล็กที่ยึดติดดี แสดงว่า สีเก่ามีการติดยึดที่ไม่ดี ต้องขูดสีเก่าออก

การทำความสะอาดพื้นผิว
พื้นผิวต้องสะอาด เพื่อการยึดเกาะที่ดีของกาวซีเมนต์
วิธีทำความสะอาดพื้นผิว ทำอย่างไร?

พื้นผิวบริเวณที่ต้องการปูกระเบื้องต้องสะอาด กำจัดฝุ่นและเศษผงต่างๆ เช่น ผงซีเมนต์ ยิปซัม ไขมัน คราบมันต่างๆ ออกให้หมด เพื่อให้กาวซีเมนต์ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี

สำหรับพื้นกระเบื้องเดิม กระเบื้องยาง สี การปูกระเบื้องทับต้องทารองพื้นด้วยน้ำยารองพื้น เวเบอร์.พริม 2 ก่อน เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ
สำหรับการปูกระเบื้องบนสีเดิม ให้กำจัดคราบสีน้ำพลาสติก สีอะครีลิคออกให้หมด แล้วทาน้ำยารองพื้น เวเบอร์.พริม 2 เพื่อเพิ่มแรงติดยึดทางด้านเคมี
สำหรับพื้นซีเมนต์เก่า คอนกรีตเก่า คอนกรีตมวลเบา ผนังยิปซัม ไม้ ไม้อัดซีเมนต์ ต้องรองพื้นด้วย น้ำยารองพื้นเพื่อลดการดูดซึมของน้ำ ก่อนการปูกระเบื้อง

การตรวจวัดความชื้นของพื้นผิว
การตรวจสอบความชื้นของพื้นผิวก่อนอื่นต้องเช็ดพื้นผิวให้แห้งสนิท จากนั้นอ่านค่าความชื้นบนพื้นผิวจากเครื่องมือวัดความชื้น

พื้นผิวที่ต้องการจะปูกระเบื้องและพื้นปลาสเตอร์ไม่ควรมีความชื้นอยู่เกิน 3% ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมซึ่งบางสภาพแวดล้อม ความชื้นอาจจะอยู่นาน 2 สัปดาห์ ถึงหลายเดือน
สำหรับผิวแอนไฮไดร์ (ที่มีส่วนผสมของแคลเซียมซัลเฟต) ต้องมีความชื้นหลงเหลืออยู่น้อยกว่า 1% และสำหรับพื้นพีวีซี ความชื้นควรน้อยกว่า 0.5%

ที่มา weberthai.com



Labels: , ,


Leave A Comment:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...