หลักเกณฑ์ในการตรวจสภาพพื้นผิวก่อนการปูกระเบื้อง
ตรวจสอบโดยใช้ไม้ที่ได้ระดับยาว 2 ม. วางลงบนพื้นผิว ไม้วัดระดับต้องแนบพื้นผิว มีช่องว่างได้ตามรายละเอียดข้างล่าง
บริเวณที่อยู่ใต้ไม้วัดระดับต้องมีช่องว่างไม่เกิน 5 มม.
บริเวณที่ใช้งานหนัก หรือบริเวณที่ใช้กาวเหลวปูกระเบื้องไม่ควรเกิน 3 มม.
ถ้าความเรียบของพื้นผิวเป็นไปตามมาตรฐานข้างต้นเกิน 80% ถือว่าอยู่ในสภาพปกติ
แต่ถ้าพื้นผิวไม่เรียบมากกว่า 20% ควรปรับระดับด้วยปูนทรายที่ผสมน้ำยาประสานคอนกรีต เวเบอร์.นีโอ ลาเท็กซ์ เพื่อให้ปูนใหม่กับปูนเก่าติดกันได้ดี
ความมั่นคงของพื้นผิว
วิธีวัดความมั่นคง ความแน่นของพื้นผิว ทำอย่างไร?
ตรวจสอบบริเวณแผ่นไม้ ตามขอบของแผ่นไม้
สำหรับพื้นผิวไม้ เมื่อเราเดินลงไปหรือสัมผัส พื้นไม้ไม่ควรยุบตัว สั่นสะเทือน หรือแปรสภาพ
ถ้าพื้นผิวไม่แข็งแรงพอ ควรจะทำใหม่หรือซ่อมแซม เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับพื้นผิว
ความแข็งแรงของพื้นผิว
พื้นผิวจะต้องแข็งแรงและมีความต้านทาน เพื่อลดปัญหาการหลุดร่อนจากพื้นผิว
วิธีวัดตรวจสอบความแข็งของพื้นผิว ทำอย่างไร?
วิธีง่ายๆ ที่ใช้ตรวจความแข็งแรงของพื้นผิว คือ การใช้ตะปูขูดพื้นผิวหลายๆ จุด
ถ้าพื้นผิวหลุดร่อนร่วนซุย ถือว่าพื้นผิวนั้นไม่แข็งแรงเพียงพอสำหรับการปูกระเบื้อง
กรณีพื้นผิวเก่าที่เป็นปูนปลาสเตอร์ เช่น กำแพงที่ทำด้วยปูนขาว ให้สกัดพื้นผิว จนได้พื้นผิวที่แข็ง
ถ้าพื้นผิวชำรุด แตกร้าว แข็งไม่เพียงพอ ให้สกัด หรือกะเทาะบริเวณที่ชำรุดออก ให้หมดจนเหลือแต่บริเวณที่แข็งแรงไว้
การดูดซึมน้ำของพื้นผิว
พื้นซีเมนต์ต้องดูดซึมน้ำปกติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากาวซีเมนต์แห้งเร็วเกินไป
วิธีวัดตรวจสอบประสิทธิภาพการดูดซึมน้ำของพื้นผิว ทำอย่างไร?
ตรวจสอบโดยการใช้น้ำราดลงพื้นผิวในปริมาณเล็กน้อย
ถ้าพื้นผิวดูดซึมน้ำได้หมดภายในระยะเวลาน้อยกว่า 1 นาที ถือว่าเป็นพื้นผิวที่ดูดน้ำเร็วเกินไป พื้นผิวลักษณะนี้ ต้องทาด้วย น้ำยารองพื้นเพื่อลดการดูดซึมของน้ำ ก่อน
การยึดติดของกระเบื้องเดิมและสีเก่า
พื้นผิวต้องเป็นพื้นผิวเดียวกัน มีแรงต้านทานการยึดเกาะของกาวซีเมนต์
วิธีตรวจสอบการยึดติดของกระเบื้องเดิมก่อนการปูกระเบื้องทับ ทำอย่างไร?
สำหรับพื้นกระเบื้องเดิม ใช้ค้อนหรือเกรียงเคาะให้ทั่วบริเวณ เพื่อตรวจสอบการยึดติดของกระเบื้องเดิม
รื้อแผ่นกระเบื้องเดิมที่ไม่แน่นออก
ปูกระเบื้องบริเวณนั้นใหม่ โดยเลือกใช้กระเบื้องชนิดเดียวกันและคุณสมบัติเหมือนกันกับกระเบื้องเดิม
วิธีตรวจสอบการยึดติดของสีเก่าก่อนการปูกระเบื้องทับ ทำอย่างไร?
สำหรับการตรวจสอบพื้นผิวที่มีสีเก่า ใช้มีดคัตเตอร์กรีดเป็นเส้นในแนวตั้งและแนวนอน ยาว 10 ซม. มีความห่างต่อเส้นประมาณ 2 มม.
กรีดให้ได้เป็นสี่เหลี่ยมเล็กขนาด 2 x 2 มม. ในพื้นที่ 10 x 10 ซม. จากนั้นใช้เทปกาวใสติดแนบลงไป แล้วดึงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ถ้า 80% ของสี่เหลี่ยมเล็ก (ขนาด 2 x 2 มม.) ยังยึดติดดี แสดงว่า สีเก่ายังให้การยึดติดที่ดี
ถ้าน้อยกว่า 80% ของสี่เหลี่ยมเล็กที่ยึดติดดี แสดงว่า สีเก่ามีการติดยึดที่ไม่ดี ต้องขูดสีเก่าออก
การทำความสะอาดพื้นผิว
พื้นผิวต้องสะอาด เพื่อการยึดเกาะที่ดีของกาวซีเมนต์
วิธีทำความสะอาดพื้นผิว ทำอย่างไร?
พื้นผิวบริเวณที่ต้องการปูกระเบื้องต้องสะอาด กำจัดฝุ่นและเศษผงต่างๆ เช่น ผงซีเมนต์ ยิปซัม ไขมัน คราบมันต่างๆ ออกให้หมด เพื่อให้กาวซีเมนต์ยึดเกาะพื้นผิวได้ดี
สำหรับพื้นกระเบื้องเดิม กระเบื้องยาง สี การปูกระเบื้องทับต้องทารองพื้นด้วยน้ำยารองพื้น เวเบอร์.พริม 2 ก่อน เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ
สำหรับการปูกระเบื้องบนสีเดิม ให้กำจัดคราบสีน้ำพลาสติก สีอะครีลิคออกให้หมด แล้วทาน้ำยารองพื้น เวเบอร์.พริม 2 เพื่อเพิ่มแรงติดยึดทางด้านเคมี
สำหรับพื้นซีเมนต์เก่า คอนกรีตเก่า คอนกรีตมวลเบา ผนังยิปซัม ไม้ ไม้อัดซีเมนต์ ต้องรองพื้นด้วย น้ำยารองพื้นเพื่อลดการดูดซึมของน้ำ ก่อนการปูกระเบื้อง
การตรวจวัดความชื้นของพื้นผิว
การตรวจสอบความชื้นของพื้นผิวก่อนอื่นต้องเช็ดพื้นผิวให้แห้งสนิท จากนั้นอ่านค่าความชื้นบนพื้นผิวจากเครื่องมือวัดความชื้น
พื้นผิวที่ต้องการจะปูกระเบื้องและพื้นปลาสเตอร์ไม่ควรมีความชื้นอยู่เกิน 3% ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมซึ่งบางสภาพแวดล้อม ความชื้นอาจจะอยู่นาน 2 สัปดาห์ ถึงหลายเดือน
สำหรับผิวแอนไฮไดร์ (ที่มีส่วนผสมของแคลเซียมซัลเฟต) ต้องมีความชื้นหลงเหลืออยู่น้อยกว่า 1% และสำหรับพื้นพีวีซี ความชื้นควรน้อยกว่า 0.5%
ที่มา
weberthai.com